Tag: ธุรกิจน้ำมัน

ปั๊มน้ำมัน แนวโน้มที่เปลี่ยนไป แข่งเดือดกลยุทธ์สร้างความแตกต่าง

ธุรกิจที่ได้รับความสนใจจากประชาชนในตอนนี้คงจะหนีไม่พ้น ธุรกิจน้ำมัน อาจจะด้วย หลายๆ ปัจจัย เช่น น้ำมันเป็นปัจจัยหลักของแทบจะทุกอุตสาหกรรม จึงทำให้ธุรกิจน้ำมันได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมา โดยตลอด รวมทั้งในธุรกิจน้ำมัน มีผู้ประกอบการที่มีเงินลงทุน ก้อนใหญ่หลายราย แต่เดิมในอดีต การแข่งขันของธุรกิจน้ำมันจะแข่งขันกันในธุรกิจหลัก ซึ่งก็คือ การจำหน่ายน้ำมันทั้งหลาย เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง และน้ำมันหล่อลื่น แต่จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ธุรกิจน้ำมันมาแข่งขันกันที่องค์ประกอบของสถานีบริการน้ำมันด้านอื่นๆ แทน องค์ประกอบของสถานีบริการน้ำมันนั้นประกอบไปด้วย 5 ส่วนด้วยกัน คือ 1.สถานีบริการน้ำมัน จะเป็นพื้นที่ที่ใช้ในการเติมน้ำมันจะมีหัวจ่ายของน้ำมันชนิดต่างๆ เช่น หัวจ่ายของน้ำมันเบนซิน หัวจ่ายของน้ำมันดีเซล เป็นต้น 2.ร้านสะดวกซื้อ ในสถานีบริการน้ำมันจะมีลักษณะที่แตกต่างไปจาก ร้านสะดวกซื้อทั่วไป ที่สินค้ามีความ หลากหลาย ร้านสะดวกซื้อในปั๊มน้ำมันจะมีสินค้าในกลุ่มของว่างและของทานเล่นเป็นส่วนใหญ่

ร้านสะดวกซื้อในปั๊มน้ำมันเรียกว่า จีสโตร์ แต่เดิมจะเป็นร้านขนาดเล็ก มีสินค้าจำหน่ายไม่มากและขาดความเป็นเอกลักษณ์ แต่ละปั๊มจึงมีการพัฒนาให้เป็นรูปแบบเดียว กันมากขึ้นและมีสินค้าจำหน่ายที่หลากหลายกว่าเดิม ปั๊มน้ำมันเจ็ท ดำเนินการภายใต้ชื่อ จิฟฟี่, ปั๊มน้ำมันเชลล์ ดำเนินการภายใต้ชื่อ ซีเล็ค, ปั๊มน้ำมันคาลเท็กซ์

ดำเนินการภายใต้ ชื่อ สตาร์มาร์ท, ปั๊มน้ำมันบางจาก ดำเนินการภายใต้ชื่อ เลมอนกรีน และปั๊มน้ำมันปตท. จะเป็นพันธ มิตรมาเปิดดำเนินการ คือ เซเว่น อีเลฟเว่น โดยส่วนใหญ่การดำเนิน การร้านสะดวกซื้อนั้น ผู้รับสัมป ทานดำเนินการปั๊มน้ำมันจะดำเนิน การเอง 3.ร้านจำหน่ายอาหาร แต่เดิมร้านจำหน่ายอาหารในปั๊มน้ำมันจะเป็นลักษณะของพื้นที่เช่า ให้ขายข้าวแกง อร่อยบ้าง ไม่อร่อย บ้าง แล้วแต่ฝีมือของแม่ครัวแต่ ละร้าน บางปั๊มจำหน่ายอาหารไม่หมดก็จะนำมาอุ่นแล้วจำหน่ายซ้ำอีกในวันต่อไป ทำให้ผู้ใช้รถบางราย เจออาหารที่ไม่สดใหม่ เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีในการทานอาหารในปั๊มน้ำมัน แต่สำหรับปัจจุบันแล้ว ปั๊มน้ำมันได้มีการหาพันธมิตรที่มีความชำนาญมาดำเนินการ เช่น ปั๊มน้ำมันเจ็ท

จากองค์ประกอบดังกล่าวแล้วปัจจุบันการแข่งขันที่รุนแรงของธุรกิจน้ำมันทำให้บริการด้านอื่นๆ มีการเพิ่มรูปแบบใหม่ๆ มีการนำกลยุทธ์การสร้างความแตก ต่าง (Differentiation) โดยเฉพาะ ความแตกต่างของบริการด้านอื่น มาใช้มากยิ่งขึ้น ปตท.ได้พันธมิตรที่ดี ที่มีความต้องการแนวทางเดียวกันในการดำเนินกลยุทธ์ความ แตกต่างนี้ อย่างธนาคารกรุงศรี อยุธยา เปิดให้บริการในปั๊มน้ำมันเป็นแบบ Drive-Thru Banking ปั๊มน้ำมันในปัจจุบัน จึงเปลี่ยนโฉมไปจากเดิมมาก มีความทันสมัยและความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เราในฐานะของ ผู้บริโภค คงต้องรอดูกันต่อไปว่า ปั๊มน้ำมันรายอื่นๆ จะปรับตัวกัน อย่างไร เพื่อตอบสนองความต้อง การที่เปลี่ยนไปนี้

การป้องกันความเสี่ยงทางธุรกิจน้ำมันให้เติบโต

การป้องกันความเสี่ยงทางธุรกิจน้ำมันให้เติบโต

ธุรกิจน้ำมันเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงครับ เสี่ยงมากกว่าธุรกิจทั่วๆไปคือ ไม่สามารถควบคุมต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตได้เลย วัตถุดิบในที่นี้คือน้ำมันดิบ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ยากที่จะคาดเดาได้ และนับวันมีแต่จะผันผวนมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก่อนนี้ราคาน้ำมันดิบขึ้นลงกันเป็นเซ็นต์ ถ้าวันไหนราคาขึ้นมา 1-2 ดอลลาร์สหรัฐฯ ก็ถือว่าขึ้นมามากแล้ว แต่ปัจจุบันราคาน้ำมันดิบขึ้นลงกันวันละ 2-3 ดอลลาร์สหรัฐฯ ถือว่าเป็นเรื่องปกติ บางวันขึ้นลงกัน 5-10 ดอลลาร์ก็มี เวลาที่โรงกลั่นสั่งน้ำมันดิบเข้ามากลั่น วันที่สั่งราคาหนึ่ง แต่วันที่น้ำมันดิบบรรทุก (Load) ลงเรือกลับเป็นอีกราคาหนึ่ง ซึ่งโรงกลั่นน้ำมันก็ต้องยอมรับในราคาที่โหลดลงเรือ จะโต้แย้งว่าตอนสั่งซื้อราคาถูกกว่านี้ก็โต้แย้งไม่ได้ เพราะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในวงการน้ำมัน เขาจะถือเอาราคาของวันที่โหลดน้ำมันเป็นหลัก เพราะไม่มี supplier รายไหนกล้า guarantee ว่าจะขายในราคาที่คุณสั่งซื้อ ต่างยึดถือวันที่น้ำมันบรรทุกลงเรือกันทั้งสิ้น ไม่สามารถกำหนดราคาขายได้เองเหมือนธุรกิจอื่นๆ ราคาขายน้ำมันหลังจากกลั่นออกมาเป็นน้ำมันสำเร็จรูป ใช้ราคาอ้างอิงตลาดกลางที่ใหญ่ที่สุดและอยู่ใกล้ที่สุด อย่างเช่นประเทศไทยก็อ้างอิงราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นที่สิงคโปร์ ซึ่งมีคนอยากจะเปลี่ยนกันนักหนา หาว่าทำให้โรงกลั่นมีค่าการกลั่นสูงจนเกินไปและมีกำไรมากเกินไป แต่หารู้ไม่ว่านั่นแหละคือความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจน้ำมัน เพราะโรงกลั่นทุกโรงต้องสั่งน้ำมันดิบล่วงหน้าเป็นเวลา 2 เดือน ซึ่งขณะสั่งน้ำมันก็เป็นราคาหนึ่ง วันที่น้ำมันดิบลงเรือก็เป็นอีกราคาหนึ่ง และวันที่กลั่นเสร็จเป็นน้ำมันสำเร็จรูปพร้อมขายก็เป็นอีกราคาหนึ่ง

ฉะนั้นโรงกลั่นไม่มีทางรู้ล่วงหน้าหรือคาดเดาสถานการณ์ในอีก 2 เดือนข้างหน้าได้เลยว่าน้ำมันเมื่อกลั่นเสร็จแล้วจะขายได้ในราคาเท่าไร ถ้าราคาปรับสูงขึ้นก็ดีไป แต่ถ้าราคาปรับลดลงก็ต้องยอมรับการขาดทุนไป โดยเฉพาะถ้าราคาผันผวนมาก ขึ้น/ลงเป็นสิบๆดอลลาร์อย่างปัจจุบัน ความเสี่ยงก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นธุรกิจน้ำมันจึงเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง และต้องมีการบริหารความเสี่ยง เป็นอย่างดี จึงจะสามารถประคองตัวผ่านวิกฤติราคาน้ำมันแพง ซึ่งถือเป็นวิกฤติน้ำมันครั้งที่ 3 ของโลกไปได้ ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงการแทรกแซงจากภาครัฐ และแรงกดดันทางสังคม ในกรณีที่ราคาน้ำมันขึ้นเอาๆอยู่ในขณะนี้ ทำให้ธุรกิจน้ำมันทั่วโลกอยู่ในภาวะเดียวกัน คือถูกสังคมตั้งข้อสงสัยว่าธุรกิจน้ำมันมีกำไรมากเกินไปหรือเปล่า หรือฉกฉวยผลประโยชน์จากการที่ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดทุกวันอย่างในปัจจุบันหรือเปล่า