ธุรกิจ

ปาล์มน้ำมันพืชเศรษฐกิจ ทางเลือกใหม่ ของเกษตกรที่น่าจับตามอง

ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่น่าจับตามอง นอกจากจะเป็นพืชน้ำมันที่มีบทบาทสำคัญในธุรกิจน้ำมันพืชเพื่อการบริโภค และเป็นวัตถุดิบอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกหลายอุตสาหกรรม เช่น สบู่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมข้นหวาน เนยเทียม ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น อนาคต ปาล์มน้ำมันยังจะมีบทบาทสำคัญใช้ผลิตไบโอดีเซล ซึ่งคาดว่าจะเป็นพลังงานทดแทนน้ำมันอนาคต ปัจจุบัน กระทรวงเกษตรฯ ร่วมมือกับจังหวัดที่เป็นแหล่งปลูกปาล์มน้ำมันที่สำคัญ

การกำหนดแผนยุทธศาสตร์จังหวัดที่จะส่งเสริมเกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีมากขึ้น เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพ และเพียงพอกับการผลิตไบโอดีเซล โดยส่งเสริมปลูกปาล์มพันธุ์ดีแทนที่สวนยางเก่า และต้นปาล์มอายุมาก รวมทั้งที่นารกร้าง ยังจะเน้นส่งเสริมใช้เทคโนโลยีผลิต และเก็บเกี่ยวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลิตปาล์มน้ำมันให้สูงขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวความต้องการ ผลผลิตปาล์มน้ำมันใช้เป็นพลังงานทดแทนอนาคต

การผลิตปาล์มน้ำมันในตลาดโลก
ปัจจุบัน ประเทศปลูกปาล์มน้ำมัน 42 ประเทศทั่วโลก ซึ่งต่างจากพืชน้ำมันประเภทอื่นๆที่ปลูกกันกว้างขวางทั่วโลก เนื่องจากพื้นที่ปลูกเหมาะสมปลูกปาล์มน้ำมัน จะอยู่ระหว่างเส้นรุ้ง 10 องศาเหนือ-ใต้เส้นศูนย์สูตร หรืออย่างสูงไม่เกิน 20 องศาเหนือ-ใต้เส้นศูนย์สูตร การผลิตปาล์มน้ำมันขยายตัวอย่างรวดเร็วช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบัน แหล่งผลิตปาล์มน้ำมันหลักของโลก คือมาเลเซียและอินโดนีเซีย ซึ่งมีพื้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิต 21.1 ล้านไร่และ 15 ล้านไร่ตามลำดับ คิดเป็น 31.3% และ 22.2% ของพื้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตปาล์มน้ำมันรวมของโลก

ส่วนประเทศไทย ยังมีปริมาณการผลิตน้อยมาก พื้นที่เก็บเกี่ยวประมาณ 1.4 ล้านไร่ หรือ 0.02% ของพื้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตของโลก อย่างไรก็ตาม ประเด็นน่าสนใจ คือการเพิ่มผลผลิตทะลายปาล์มน้ำมันของไทยเฉลี่ยต่อไร่ช่วงปี 2530-2545 เพิ่มสูงกว่าประเทศผู้ผลิตปาล์มน้ำมันรายอื่นๆ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่ของไทย น่าจะมีโอกาสสูงขึ้นอีก จนใกล้เคียงมาเลเซียช่วง 3-6 ปีข้างหน้า กลุ่มพืชให้น้ำมันที่สำคัญในตลาดโลก มี 4 พืช คือ ปาล์มน้ำมัน ถั่วเหลือง เรปซีดและทานตะวัน เมื่อเทียบราคาต้นทุนผลิต ปาล์มน้ำมันต้นทุนผลิตต่ำ เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้น มีโอกาสเสี่ยงต่อผลกระทบภัยธรรมชาติน้อย เมื่อเทียบพืชอายุสั้นอื่นๆ ลงทุนเพียงครั้งเดียว เก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานประมาณ 20 ปี นอกจากนี้ การที่ประชากรเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มสูงขึ้นตาม

ปาล์มน้ำมันต้นทุนผลิตต่ำผลผลิตต่อพื้นที่สูง ราคาซื้อขายในตลาดไม่สูง เสี่ยงต่อการเสียหายจากภัยธรรมชาติน้อย สามารถผลิตปริมาณมาก เพื่อรองรับความต้องการการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกได้ พื้นที่ปลูกได้ในโลกนี้มีจำกัด ไทยอยู่จุดได้เปรียบ ปลูกได้ดี ประกอบกับน้ำมันปาล์ม ประกอบด้วย กรดไขมันหลายชนิด อุดมด้วยวิตามินอี และวิตามินเอ องค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้ สามารถสกัด และใช้ประโยชน์เป็นสารตั้งต้นอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสำอาง อุตสาหกรรมใช้โอเลฟินเป็นวัตถุดิบ และอื่นๆ ซึ่งเพิ่มมูลค่าได้อีกหลากหลาย

ปาล์มน้ำมัน จัดเป็นพืชน้ำมันอนาคตสดใส และแนวโน้มขยายตัวความต้องการอุตสาหกรรมต่อเนื่องโดดเด่น เทียบกับพืชน้ำมันอื่นๆ เนื่องจากการขยายตัวอุตสาหกรรมที่ต้องการปาล์มน้ำมันเป็นวัตถุดิบ ทั้งน้ำมันพืชเพื่อการบริโภค และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ วางยุทธศาสตร์ขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อเป็นวัตถุดิบผลิตไบโอดีเซล เป็นการขยายอุตสาหกรรมรองรับปาล์มน้ำมัน ใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทน

ราคาน้ำมันกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ

ราคาน้ำมัน เป็นตัวแปรหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อวิถีการดำรงชีวิตของผู้คน ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังเห็นได้จากสถานการณ์ในปัจจุบันที่ประเทศไทยและประเทศต่างๆ ในโลกกำลังเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น ราคาวัตถุดิบ และค่าขนส่งที่สูงขึ้น และนำไปสู่การปรับขึ้นราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคหรือปัญหาเงินเฟ้อในท้ายสุด

สำหรับสาเหตุที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดขึ้นจากความต้องการใช้น้ำมัน (Demand) ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันสืบเนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ปริมาณความต้องการบริโภคน้ำมันต่อวันมากกว่าปริมาณน้ำมันที่สามารถผลิตน้ำมันได้ต่อวัน จึงทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามประเทศผู้ผลิตน้ำมันอาจจะเร่งการผลิตน้ำมันให้มากกว่าความต้องการใช้ เนื่องจากประเทศผู้ผลิตน้ำมันจะมีความระมัดระวังมิให้น้ำมันราคาสูงเกินกว่าที่ผู้บริโภคจะรับได้ เพราะมีประสบการณ์ว่า เมื่อเศรษฐกิจโลกถดถอยลงอย่างรุนแรง จะส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับลดลง ประกอบกับประเทศผู้บริโภคน้ำมันที่เป็นประเทศพัฒนาแล้วใช้พลังงานได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างมาก และมีการลงทุนในการหาแหล่งพลังงานอื่น โดยเชื่อว่ากลไกตลาดกำลังทำงานให้เกิดการอนุรักษ์พลังงาน การแสวงหาพลังงานทดแทน รวมทั้งโครงสร้างเศรษฐกิจโดยรวมก็อาจเปลี่ยนไป โดยลดการพึ่งพาอุตสาหกรรมหนักมาเป็นเน้นธุรกิจด้านบริการที่ใช้เทคโนโลยี และพึ่งพาพลังงานน้อยลง จึงอาจส่งผลให้ราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้นไม่มากนัก

แนวทางการปรับตัวของผู้ประกอบธุรกิจน้ำมันปาล์มการเพื่อรองรับผลกระทบจาก AEC

Image.aspxผู้ประกอบการในธุรกิจน้ำมันปาล์มจำเป็นต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตน้ำมันปาล์ม ของไทยทั้งระบบ ตั้งแต่ในระดับเกษตรกรผู้ปลูก โรงสกัดและโรงกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ โดยเน้นการลดต้นทุน และเพิ่มปริมาณผลผลิตที่ได้จากการผลิต เพื่อให้ราคาจำหน่ายสามารถแข่งขันได้กับน้ำมันปาล์มน้ำเข้า ดังนี้

– เกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม ควรให้ความสำคัญกับการปรับปรุงการเพาะปลูก เพื่อให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูง เช่น การเลือกพื้นที่เพาะปลูกที่เหมาะสมทั้งทาง ด้านภูมิประเทศ (ใกล้แหล่งน้ำ สภาพดินร่วนปนดินเหนียว) และสภาพภูมิอากาศ (อากาศชุ่มชื้น มีฝนตกชุก มีช่วงฤดูแล้งสั้น มีอุณหภูมิประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส) รวมถึงการคัดเลือกพันธุ์ ในการเพาะปลูกที่มีอัตราการให้น้ำมันสูง การศึกษาระยะเวลาในการใส่ปุ๋ยและประเภทของปุ๋ยที่ใส่ในแต่ละช่วงอายุของต้นปาล์ม การตัดแต่งทางใบ ตลอดจน การวางแผนเพาะปลูกปาล์มน้ำมันทดแทนต้นเก่าที่มีอายุมากซึ่งจะให้ปริมาณผลผลิตลดลง

– โรงสกัดน้ำมันปาล์มดิบ ควรเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพในการรวบรวมวัตถุดิบ (ผลปาล์มน้ำมัน) และการสกัดน้ำมันปาล์มเพื่อให้อัตราการให้น้ำมัน เพิ่มขึ้น โดยอาจพัฒนาการสกัดน้ำมันแยกระหว่างเนื้อในปาล์มและเนื้อปาล์ม สำหรับโรงสกัดที่มีขนาดใหญ่อาจหาแนวทางในการลดต้นทุนการผลิต โดยการนำของเศษปาล์มที่เหลือ จากกระบวนการสกัด (by product) เช่น กะลาปาล์ม ทะลายปาล์ม เส้นใยปาล์ม ไปผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้ในโรงงาน อีกทั้งยังเป็นการลดต้นทุนในการกำจัดเศษวัสดุเหลือใช้ของปาล์มอีกด้วย

– โรงกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ นอกจากที่ผู้ประกอบการควรจะเพิ่มประสิทธิภาพในการกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์แล้ว ควรเน้นการบริหารจัดด้านการขนส่งสินค้า (น้ำมันปาล์ม) ไปยังคลังสินค้าของผู้ค้าปลีกรายใหญ่และโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำมันปาล์มในการผลิต เพื่อลดต้นทุนในการขนส่ง ซึ่งปัจจุบันนับว่ามีต้นทุนในส่วนนี้สูงถึงประมาณ ร้อยละ 20

นอกจากนี้ กลุ่มผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องทั้งโรงกลั่น โรงสกัด รวมถึงสมาคมและสหกรณ์การเกษตรในระดับท้องถิ่นต่างๆ ควรติดตามสถานการณ์การผลิต การจำหน่ายและราคา และความต้องการน้ำมันปาล์มในตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการผลิต การตั้งราคา และการกระจายสินค้าไปสู่ตลาด รวมถึงการศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการที่สามารถช่วยบรรเทา/ลดผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรีการค้าสินค้าเกษตร คือ มาตรการป้องกันการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard Measure: SG) ตามข้อผูกพันไว้กับ WTO ซึ่งเปิดโอกาสให้ประเทศผู้นำเข้า (ที่ได้รับผลกระทบ) สามารถใช้มาตรการดังกล่าวเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศที่ได้รับความเสียหาย หรือมีแนวโน้มที่จะได้ รับความเสียหายจากการนำเข้าที่เพิ่มมากขึ้นมากกว่าปกติ

โดยสรุป ปัจจุบัน น้ำมันปาล์มเป็นหนึ่งในสินค้าเกษตรที่ไทยยังคงใช้มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ โดยระบุให้การนำเข้าน้ำมันปาล์มจะต้องมีการขออนุญาตนำเข้า (Import License) ตามความเหมาะสมของสถานการณ์ โดยในการที่ไทยจะก้าวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) หนึ่งในข้อผูกพัน จะต้องลด/ขจัดมาตรการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษีที่ใช้ในประเทศ ซึ่งหากไทยจำเป็นต้องยกเลิกมาตรการขออนุญาตนำเข้า จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไทยค่อนข้างมาก โดยเฉพาะทางด้านของผู้ผลิต ได้แก่ เกษตรกร โรงสกัดและโรงกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ เนื่องจากการผลิตน้ำมันปาล์มของไทยในปัจจุบัน ยังมีจุดอ่อนทางด้านต้นทุนการผลิต ทำให้ราคาน้ำมันปาล์มในประเทศสูง กว่าประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ อย่างเช่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งอาจส่งผลให้น้ำมันปาล์มจากประเทศดังกล่าวเข้ามาแข่งขันกับน้ำมันปาล์มในประเทศมากขึ้น ในขณะที่ผู้บริโภคจะเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากการแข่งขันของผู้ผลิต ที่จะส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์ม รวมถึงสินค้าที่ใช้น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบราคามีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม การเตรียมรับมือกับการก้าวเข้าสู่การเป็น AEC ในอนาคตเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับกลุ่มผู้ที่อาจได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ เกษตรกรและผู้ประกอบการควรเร่งแนวทางเพื่อลดต้นทุนการผลิต ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพื่อให้น้ำมันปาล์มไทยสามารถแข่งขันได้ในอาเซียน

ความสำเร็จของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม เกิดจากรูปแบบการเกษตรที่เน้นสร้างผลิตผลสูง


ประเทศมาเลเซียมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันราวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับพื้นที่ปลูกพืชเมล็ดน้ำมัน ทั่วโลกกว่า 254 ล้านเฮกเตอร์ทั่วโลก (หรือราว 1,590 ล้านไร่) แต่สามารถสร้างผลผลิตได้ราวร้อยละ 14 ของผลผลิตน้ำมันจากพืชทั่วโลก แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศมาเลเซียในการพัฒนาการเกษตรให้ได้ผลิตผลต่อไร่สูง นอกจากนี้ มาเลเซียซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่ลำดับที่ 2 ของโลก ยังมีสองบริษัทยักษ์ใหญ่ที่อยู่ในธุรกิจปาล์มน้ำมัน ได้แก่ Sime Darby และ FELDA ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านปาล์มที่ใหญ่ที่สุดสองรายแรกของโลกด้วย

ความน่าสนใจ คือการสร้างแหล่งปลูกปาล์มโดยที่เกษตรกรมีส่วนร่วมอย่างมาก เป็นของรัฐบาล และแรกเริ่มจัดตั้งในช่วงทศวรรษ 1960 โดยมีรูปแบบการดำเนินงานเป็นการจัดสรรเนื้อที่ทำกินให้แก่เกษตรกรที่มีรายได้น้อยและอาศัยอยู่ในชนบท จะได้มีเนื้อที่ปลูกปาล์มน้ำมัน หรือพืชยางพารา (ใช้เนื้อที่ราวร้อยละ 80 สำหรับปลูกปาล์มน้ำมัน และร้อยละ 10 สำหรับปลูกพืชยางพารา) โดยเกษตรกรราว 400 – 450 ครอบครัว จะได้รับการจัดสรรให้อยู่ในแหล่งทำกินหนึ่งๆ (estate) โดยแต่ละครอบครัว จะได้รับเนื้อที่ราว 25 – 35 ไร่ เพื่อใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูก และได้รับเนื้อที่ราว 1.5 ไร่เพื่อใช้อยู่อาศัย ซึ่งบ้านได้ถูกสร้างไว้แล้ว โดยชุมชนที่อยู่อาศัย ได้มีการจัดวางระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ระบบชลประทาน รวมถึงโรงเรียนและโรงพยาบาลไว้พร้อม ส่วนการดำเนินงานของชุมชนนั้น อยู่ในรูปแบบของสหกรณ์ที่มีเกษตรกรมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ และเกษตรกรสามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่ง โดยต้นทุนในการพัฒนาที่ดินและแปลงการเกษตรราวกึ่งหนึ่ง จะถูกจัดเก็บจากเกษตรกรเป็นระยะเวลา 15 ปีนับตั้งแต่จัดตั้ง

สนับสนุนให้เกษตรกรทำการเพาะปลูก และรับซื้อผลผลิตทั้งหมดไปแปรรูปในโรงงาน เพื่อสกัดทำน้ำมันปาล์ม หรือผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มอื่นๆ ด้วย โดยการรับซื้อผลผลิตดังกล่าวสร้างกระแสรายได้ที่ต่อเนื่องให้แก่เกษตรกร นอกจากนี้ยังให้การสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนา เพื่อช่วยเกษตรกรในการเพิ่มคุณภาพของผลผลิต และมีการใช้เครื่องมือทางการเกษตรต่างๆ เพื่อเพิ่มผลผลิต โดยเครื่องมือต่างๆ สามารถหาซื้อและใช้ร่วมกันในแหล่งทำกินได้ เนื่องจากแปลงเพาะปลูกมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะลงทุนในการซื้อเครื่องมือทางการเกษตรต่างๆ ทำให้แปลงเพาะปลูก สามารถสร้างผลิตผลปาล์มต่อไร่ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงได้

การจัดรูปแบบการทำการเกษตรมีความแตกต่างจากการเกษตรในประเทศไทย ซึ่งเกษตรกรอาจไม่ได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่พอ เพื่อลงทุนด้านเครื่องจักรกล และพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเกษตรร่วมกัน ทำให้ผลิตผลปาล์มน้ำมันเฉลี่ย อยู่ในระดับที่สูงกว่าประเทศไทยราว 11% ในปี 2011 โดยผลผลิตไทยอยู่ที่ 2,876 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่ สามารถสร้างผลผลิตได้ที่ 3,184 กิโลกรัมต่อไร่

การป้องกันความเสี่ยงทางธุรกิจน้ำมันให้เติบโต

การป้องกันความเสี่ยงทางธุรกิจน้ำมันให้เติบโต

ธุรกิจน้ำมันเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงครับ เสี่ยงมากกว่าธุรกิจทั่วๆไปคือ ไม่สามารถควบคุมต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตได้เลย วัตถุดิบในที่นี้คือน้ำมันดิบ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ยากที่จะคาดเดาได้ และนับวันมีแต่จะผันผวนมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก่อนนี้ราคาน้ำมันดิบขึ้นลงกันเป็นเซ็นต์ ถ้าวันไหนราคาขึ้นมา 1-2 ดอลลาร์สหรัฐฯ ก็ถือว่าขึ้นมามากแล้ว แต่ปัจจุบันราคาน้ำมันดิบขึ้นลงกันวันละ 2-3 ดอลลาร์สหรัฐฯ ถือว่าเป็นเรื่องปกติ บางวันขึ้นลงกัน 5-10 ดอลลาร์ก็มี เวลาที่โรงกลั่นสั่งน้ำมันดิบเข้ามากลั่น วันที่สั่งราคาหนึ่ง แต่วันที่น้ำมันดิบบรรทุก (Load) ลงเรือกลับเป็นอีกราคาหนึ่ง ซึ่งโรงกลั่นน้ำมันก็ต้องยอมรับในราคาที่โหลดลงเรือ จะโต้แย้งว่าตอนสั่งซื้อราคาถูกกว่านี้ก็โต้แย้งไม่ได้ เพราะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในวงการน้ำมัน เขาจะถือเอาราคาของวันที่โหลดน้ำมันเป็นหลัก เพราะไม่มี supplier รายไหนกล้า guarantee ว่าจะขายในราคาที่คุณสั่งซื้อ ต่างยึดถือวันที่น้ำมันบรรทุกลงเรือกันทั้งสิ้น ไม่สามารถกำหนดราคาขายได้เองเหมือนธุรกิจอื่นๆ ราคาขายน้ำมันหลังจากกลั่นออกมาเป็นน้ำมันสำเร็จรูป ใช้ราคาอ้างอิงตลาดกลางที่ใหญ่ที่สุดและอยู่ใกล้ที่สุด อย่างเช่นประเทศไทยก็อ้างอิงราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นที่สิงคโปร์ ซึ่งมีคนอยากจะเปลี่ยนกันนักหนา หาว่าทำให้โรงกลั่นมีค่าการกลั่นสูงจนเกินไปและมีกำไรมากเกินไป แต่หารู้ไม่ว่านั่นแหละคือความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจน้ำมัน เพราะโรงกลั่นทุกโรงต้องสั่งน้ำมันดิบล่วงหน้าเป็นเวลา 2 เดือน ซึ่งขณะสั่งน้ำมันก็เป็นราคาหนึ่ง วันที่น้ำมันดิบลงเรือก็เป็นอีกราคาหนึ่ง และวันที่กลั่นเสร็จเป็นน้ำมันสำเร็จรูปพร้อมขายก็เป็นอีกราคาหนึ่ง

ฉะนั้นโรงกลั่นไม่มีทางรู้ล่วงหน้าหรือคาดเดาสถานการณ์ในอีก 2 เดือนข้างหน้าได้เลยว่าน้ำมันเมื่อกลั่นเสร็จแล้วจะขายได้ในราคาเท่าไร ถ้าราคาปรับสูงขึ้นก็ดีไป แต่ถ้าราคาปรับลดลงก็ต้องยอมรับการขาดทุนไป โดยเฉพาะถ้าราคาผันผวนมาก ขึ้น/ลงเป็นสิบๆดอลลาร์อย่างปัจจุบัน ความเสี่ยงก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นธุรกิจน้ำมันจึงเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง และต้องมีการบริหารความเสี่ยง เป็นอย่างดี จึงจะสามารถประคองตัวผ่านวิกฤติราคาน้ำมันแพง ซึ่งถือเป็นวิกฤติน้ำมันครั้งที่ 3 ของโลกไปได้ ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงการแทรกแซงจากภาครัฐ และแรงกดดันทางสังคม ในกรณีที่ราคาน้ำมันขึ้นเอาๆอยู่ในขณะนี้ ทำให้ธุรกิจน้ำมันทั่วโลกอยู่ในภาวะเดียวกัน คือถูกสังคมตั้งข้อสงสัยว่าธุรกิจน้ำมันมีกำไรมากเกินไปหรือเปล่า หรือฉกฉวยผลประโยชน์จากการที่ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดทุกวันอย่างในปัจจุบันหรือเปล่า

รุกธุรกิจงานวิศวกรรมและก่อสร้างอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

ความชำนาญทางด้านวิศวกรรมและก่อสร้างอุปกรณ์การผลิตในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากตะวันออกกลาง ซึ่งดำเนินธุรกิจ โดยมีเทคโนโลยีความสามารถในการออกแบบและโครงสร้างที่สมบูรณ์โดยแผนการดำเนินธุรกิจจะหันไปเน้นงานด้านวิศวกรรมในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติให้เป็นธุรกิจหลัก ซึ่งตั้งเป้าหมายรับงานในแถบตะวันออกกลางตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป ดำเนินธุรกิจกับพันธมิตรชั้นนำระดับโลก ทำให้บริษัทฯสามารถรับงานวิศวกรรมและก่อสร้างอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ๆได้ดีกว่าที่ผ่านมา

151932
ธุรกิจอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมีความเติบโตสูงเนื่องมาจากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจงานวิศวกรรมที่เกี่ยวเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมผลิตแท่นขุดเจาะมีแนวโน้มการเติบโตสูง มีผลให้ธุรกิจพลังงานมีทิศทางที่ดีต่อการ ลงทุน ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นการขยายขอบข่ายธุรกิจครั้งสำคัญ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งได้มากยิ่งขึ้นในตลาดระดับประเทศ และตลาดโลก ด้วยประวัติอันยาวนานและจุดแข็ง ถือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทำให้เราสามารถให้บริการได้เต็มรูปแบบ โดยรวมเอาความแข็งแกร่งในทุกๆ ด้านมาให้บริการในตลาดในประเทศไทยและที่ประเทศอื่นๆได้ไปลงทุน สำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยมีพันธมิตรทางธุรกิจที่เข้มแข็งอีกหลายแห่งในภูมิภาคตะวันออกกลางและเอเชียแปซิฟิค ในแถบประเทศตะวันออกไกลนั้น กลุ่มจีพีเอสมีโรงงานผลิตประกอบอยู่ในประเทศสิงคโปร์และเมืองบาตัม ประเทศอินโดนีเซีย และมีสำนักงานธุรกิจวิศวกรรมที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย นอกเหนือจากโรงงานผลิตต่างๆ ในระยองทางด้านตะวันออกแล้ว ก็ยังมีอีกแห่งที่สงขลาทางภาคใต้ของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังถือว่ากลุ่มบริษัทได้เพิ่มจำนวนวิศวกรคุณภาพและเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคให้มาทำงานเพิ่มมากขึ้นในภูมิภาคนี้ แนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติโลกอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจะมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องอีกอย่างน้อย 10 ปีเพราะประเทศแถบแคสเบี้ยนและแอฟริกาตะวันตกอยู่ในช่วงเริ่มพัฒนาแหล่งทรัพยากร นอกจากนั้นยังมีทรัพยากรอื่นๆที่ปัจจุบันกลับมามีศักยภาพด้านเศรษฐกิจ ทำให้น้ำมันและก๊าซธรรมชาติมีคุณค่าราคาและความเป็นไปได้ในการพัฒนา ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจงานวิศวกรรมที่เกี่ยวเนื่องมีแนวโน้มเติบโตสูงตาม