ธุรกิจ

ราคาน้ำมันกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ

ราคาน้ำมัน เป็นตัวแปรหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อวิถีการดำรงชีวิตของผู้คน ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังเห็นได้จากสถานการณ์ในปัจจุบันที่ประเทศไทยและประเทศต่างๆ ในโลกกำลังเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น ราคาวัตถุดิบ และค่าขนส่งที่สูงขึ้น และนำไปสู่การปรับขึ้นราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคหรือปัญหาเงินเฟ้อในท้ายสุด

สำหรับสาเหตุที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดขึ้นจากความต้องการใช้น้ำมัน (Demand) ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันสืบเนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ปริมาณความต้องการบริโภคน้ำมันต่อวันมากกว่าปริมาณน้ำมันที่สามารถผลิตน้ำมันได้ต่อวัน จึงทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามประเทศผู้ผลิตน้ำมันอาจจะเร่งการผลิตน้ำมันให้มากกว่าความต้องการใช้ เนื่องจากประเทศผู้ผลิตน้ำมันจะมีความระมัดระวังมิให้น้ำมันราคาสูงเกินกว่าที่ผู้บริโภคจะรับได้ เพราะมีประสบการณ์ว่า เมื่อเศรษฐกิจโลกถดถอยลงอย่างรุนแรง จะส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับลดลง ประกอบกับประเทศผู้บริโภคน้ำมันที่เป็นประเทศพัฒนาแล้วใช้พลังงานได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างมาก และมีการลงทุนในการหาแหล่งพลังงานอื่น โดยเชื่อว่ากลไกตลาดกำลังทำงานให้เกิดการอนุรักษ์พลังงาน การแสวงหาพลังงานทดแทน รวมทั้งโครงสร้างเศรษฐกิจโดยรวมก็อาจเปลี่ยนไป โดยลดการพึ่งพาอุตสาหกรรมหนักมาเป็นเน้นธุรกิจด้านบริการที่ใช้เทคโนโลยี และพึ่งพาพลังงานน้อยลง จึงอาจส่งผลให้ราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้นไม่มากนัก

แนวทางการปรับตัวของผู้ประกอบธุรกิจน้ำมันปาล์มการเพื่อรองรับผลกระทบจาก AEC

Image.aspxผู้ประกอบการในธุรกิจน้ำมันปาล์มจำเป็นต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตน้ำมันปาล์ม ของไทยทั้งระบบ ตั้งแต่ในระดับเกษตรกรผู้ปลูก โรงสกัดและโรงกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ โดยเน้นการลดต้นทุน และเพิ่มปริมาณผลผลิตที่ได้จากการผลิต เพื่อให้ราคาจำหน่ายสามารถแข่งขันได้กับน้ำมันปาล์มน้ำเข้า ดังนี้

– เกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม ควรให้ความสำคัญกับการปรับปรุงการเพาะปลูก เพื่อให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูง เช่น การเลือกพื้นที่เพาะปลูกที่เหมาะสมทั้งทาง ด้านภูมิประเทศ (ใกล้แหล่งน้ำ สภาพดินร่วนปนดินเหนียว) และสภาพภูมิอากาศ (อากาศชุ่มชื้น มีฝนตกชุก มีช่วงฤดูแล้งสั้น มีอุณหภูมิประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส) รวมถึงการคัดเลือกพันธุ์ ในการเพาะปลูกที่มีอัตราการให้น้ำมันสูง การศึกษาระยะเวลาในการใส่ปุ๋ยและประเภทของปุ๋ยที่ใส่ในแต่ละช่วงอายุของต้นปาล์ม การตัดแต่งทางใบ ตลอดจน การวางแผนเพาะปลูกปาล์มน้ำมันทดแทนต้นเก่าที่มีอายุมากซึ่งจะให้ปริมาณผลผลิตลดลง

– โรงสกัดน้ำมันปาล์มดิบ ควรเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพในการรวบรวมวัตถุดิบ (ผลปาล์มน้ำมัน) และการสกัดน้ำมันปาล์มเพื่อให้อัตราการให้น้ำมัน เพิ่มขึ้น โดยอาจพัฒนาการสกัดน้ำมันแยกระหว่างเนื้อในปาล์มและเนื้อปาล์ม สำหรับโรงสกัดที่มีขนาดใหญ่อาจหาแนวทางในการลดต้นทุนการผลิต โดยการนำของเศษปาล์มที่เหลือ จากกระบวนการสกัด (by product) เช่น กะลาปาล์ม ทะลายปาล์ม เส้นใยปาล์ม ไปผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้ในโรงงาน อีกทั้งยังเป็นการลดต้นทุนในการกำจัดเศษวัสดุเหลือใช้ของปาล์มอีกด้วย

– โรงกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ นอกจากที่ผู้ประกอบการควรจะเพิ่มประสิทธิภาพในการกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์แล้ว ควรเน้นการบริหารจัดด้านการขนส่งสินค้า (น้ำมันปาล์ม) ไปยังคลังสินค้าของผู้ค้าปลีกรายใหญ่และโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำมันปาล์มในการผลิต เพื่อลดต้นทุนในการขนส่ง ซึ่งปัจจุบันนับว่ามีต้นทุนในส่วนนี้สูงถึงประมาณ ร้อยละ 20

นอกจากนี้ กลุ่มผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องทั้งโรงกลั่น โรงสกัด รวมถึงสมาคมและสหกรณ์การเกษตรในระดับท้องถิ่นต่างๆ ควรติดตามสถานการณ์การผลิต การจำหน่ายและราคา และความต้องการน้ำมันปาล์มในตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการผลิต การตั้งราคา และการกระจายสินค้าไปสู่ตลาด รวมถึงการศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการที่สามารถช่วยบรรเทา/ลดผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรีการค้าสินค้าเกษตร คือ มาตรการป้องกันการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard Measure: SG) ตามข้อผูกพันไว้กับ WTO ซึ่งเปิดโอกาสให้ประเทศผู้นำเข้า (ที่ได้รับผลกระทบ) สามารถใช้มาตรการดังกล่าวเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศที่ได้รับความเสียหาย หรือมีแนวโน้มที่จะได้ รับความเสียหายจากการนำเข้าที่เพิ่มมากขึ้นมากกว่าปกติ

โดยสรุป ปัจจุบัน น้ำมันปาล์มเป็นหนึ่งในสินค้าเกษตรที่ไทยยังคงใช้มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ โดยระบุให้การนำเข้าน้ำมันปาล์มจะต้องมีการขออนุญาตนำเข้า (Import License) ตามความเหมาะสมของสถานการณ์ โดยในการที่ไทยจะก้าวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) หนึ่งในข้อผูกพัน จะต้องลด/ขจัดมาตรการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษีที่ใช้ในประเทศ ซึ่งหากไทยจำเป็นต้องยกเลิกมาตรการขออนุญาตนำเข้า จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไทยค่อนข้างมาก โดยเฉพาะทางด้านของผู้ผลิต ได้แก่ เกษตรกร โรงสกัดและโรงกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ เนื่องจากการผลิตน้ำมันปาล์มของไทยในปัจจุบัน ยังมีจุดอ่อนทางด้านต้นทุนการผลิต ทำให้ราคาน้ำมันปาล์มในประเทศสูง กว่าประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ อย่างเช่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งอาจส่งผลให้น้ำมันปาล์มจากประเทศดังกล่าวเข้ามาแข่งขันกับน้ำมันปาล์มในประเทศมากขึ้น ในขณะที่ผู้บริโภคจะเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากการแข่งขันของผู้ผลิต ที่จะส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์ม รวมถึงสินค้าที่ใช้น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบราคามีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม การเตรียมรับมือกับการก้าวเข้าสู่การเป็น AEC ในอนาคตเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับกลุ่มผู้ที่อาจได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ เกษตรกรและผู้ประกอบการควรเร่งแนวทางเพื่อลดต้นทุนการผลิต ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพื่อให้น้ำมันปาล์มไทยสามารถแข่งขันได้ในอาเซียน

ความสำเร็จของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม เกิดจากรูปแบบการเกษตรที่เน้นสร้างผลิตผลสูง


ประเทศมาเลเซียมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันราวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับพื้นที่ปลูกพืชเมล็ดน้ำมัน ทั่วโลกกว่า 254 ล้านเฮกเตอร์ทั่วโลก (หรือราว 1,590 ล้านไร่) แต่สามารถสร้างผลผลิตได้ราวร้อยละ 14 ของผลผลิตน้ำมันจากพืชทั่วโลก แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศมาเลเซียในการพัฒนาการเกษตรให้ได้ผลิตผลต่อไร่สูง นอกจากนี้ มาเลเซียซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่ลำดับที่ 2 ของโลก ยังมีสองบริษัทยักษ์ใหญ่ที่อยู่ในธุรกิจปาล์มน้ำมัน ได้แก่ Sime Darby และ FELDA ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านปาล์มที่ใหญ่ที่สุดสองรายแรกของโลกด้วย

ความน่าสนใจ คือการสร้างแหล่งปลูกปาล์มโดยที่เกษตรกรมีส่วนร่วมอย่างมาก เป็นของรัฐบาล และแรกเริ่มจัดตั้งในช่วงทศวรรษ 1960 โดยมีรูปแบบการดำเนินงานเป็นการจัดสรรเนื้อที่ทำกินให้แก่เกษตรกรที่มีรายได้น้อยและอาศัยอยู่ในชนบท จะได้มีเนื้อที่ปลูกปาล์มน้ำมัน หรือพืชยางพารา (ใช้เนื้อที่ราวร้อยละ 80 สำหรับปลูกปาล์มน้ำมัน และร้อยละ 10 สำหรับปลูกพืชยางพารา) โดยเกษตรกรราว 400 – 450 ครอบครัว จะได้รับการจัดสรรให้อยู่ในแหล่งทำกินหนึ่งๆ (estate) โดยแต่ละครอบครัว จะได้รับเนื้อที่ราว 25 – 35 ไร่ เพื่อใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูก และได้รับเนื้อที่ราว 1.5 ไร่เพื่อใช้อยู่อาศัย ซึ่งบ้านได้ถูกสร้างไว้แล้ว โดยชุมชนที่อยู่อาศัย ได้มีการจัดวางระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ระบบชลประทาน รวมถึงโรงเรียนและโรงพยาบาลไว้พร้อม ส่วนการดำเนินงานของชุมชนนั้น อยู่ในรูปแบบของสหกรณ์ที่มีเกษตรกรมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ และเกษตรกรสามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่ง โดยต้นทุนในการพัฒนาที่ดินและแปลงการเกษตรราวกึ่งหนึ่ง จะถูกจัดเก็บจากเกษตรกรเป็นระยะเวลา 15 ปีนับตั้งแต่จัดตั้ง

สนับสนุนให้เกษตรกรทำการเพาะปลูก และรับซื้อผลผลิตทั้งหมดไปแปรรูปในโรงงาน เพื่อสกัดทำน้ำมันปาล์ม หรือผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มอื่นๆ ด้วย โดยการรับซื้อผลผลิตดังกล่าวสร้างกระแสรายได้ที่ต่อเนื่องให้แก่เกษตรกร นอกจากนี้ยังให้การสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนา เพื่อช่วยเกษตรกรในการเพิ่มคุณภาพของผลผลิต และมีการใช้เครื่องมือทางการเกษตรต่างๆ เพื่อเพิ่มผลผลิต โดยเครื่องมือต่างๆ สามารถหาซื้อและใช้ร่วมกันในแหล่งทำกินได้ เนื่องจากแปลงเพาะปลูกมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะลงทุนในการซื้อเครื่องมือทางการเกษตรต่างๆ ทำให้แปลงเพาะปลูก สามารถสร้างผลิตผลปาล์มต่อไร่ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงได้

การจัดรูปแบบการทำการเกษตรมีความแตกต่างจากการเกษตรในประเทศไทย ซึ่งเกษตรกรอาจไม่ได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่พอ เพื่อลงทุนด้านเครื่องจักรกล และพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเกษตรร่วมกัน ทำให้ผลิตผลปาล์มน้ำมันเฉลี่ย อยู่ในระดับที่สูงกว่าประเทศไทยราว 11% ในปี 2011 โดยผลผลิตไทยอยู่ที่ 2,876 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่ สามารถสร้างผลผลิตได้ที่ 3,184 กิโลกรัมต่อไร่

การป้องกันความเสี่ยงทางธุรกิจน้ำมันให้เติบโต

การป้องกันความเสี่ยงทางธุรกิจน้ำมันให้เติบโต

ธุรกิจน้ำมันเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงครับ เสี่ยงมากกว่าธุรกิจทั่วๆไปคือ ไม่สามารถควบคุมต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตได้เลย วัตถุดิบในที่นี้คือน้ำมันดิบ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ยากที่จะคาดเดาได้ และนับวันมีแต่จะผันผวนมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก่อนนี้ราคาน้ำมันดิบขึ้นลงกันเป็นเซ็นต์ ถ้าวันไหนราคาขึ้นมา 1-2 ดอลลาร์สหรัฐฯ ก็ถือว่าขึ้นมามากแล้ว แต่ปัจจุบันราคาน้ำมันดิบขึ้นลงกันวันละ 2-3 ดอลลาร์สหรัฐฯ ถือว่าเป็นเรื่องปกติ บางวันขึ้นลงกัน 5-10 ดอลลาร์ก็มี เวลาที่โรงกลั่นสั่งน้ำมันดิบเข้ามากลั่น วันที่สั่งราคาหนึ่ง แต่วันที่น้ำมันดิบบรรทุก (Load) ลงเรือกลับเป็นอีกราคาหนึ่ง ซึ่งโรงกลั่นน้ำมันก็ต้องยอมรับในราคาที่โหลดลงเรือ จะโต้แย้งว่าตอนสั่งซื้อราคาถูกกว่านี้ก็โต้แย้งไม่ได้ เพราะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในวงการน้ำมัน เขาจะถือเอาราคาของวันที่โหลดน้ำมันเป็นหลัก เพราะไม่มี supplier รายไหนกล้า guarantee ว่าจะขายในราคาที่คุณสั่งซื้อ ต่างยึดถือวันที่น้ำมันบรรทุกลงเรือกันทั้งสิ้น ไม่สามารถกำหนดราคาขายได้เองเหมือนธุรกิจอื่นๆ ราคาขายน้ำมันหลังจากกลั่นออกมาเป็นน้ำมันสำเร็จรูป ใช้ราคาอ้างอิงตลาดกลางที่ใหญ่ที่สุดและอยู่ใกล้ที่สุด อย่างเช่นประเทศไทยก็อ้างอิงราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นที่สิงคโปร์ ซึ่งมีคนอยากจะเปลี่ยนกันนักหนา หาว่าทำให้โรงกลั่นมีค่าการกลั่นสูงจนเกินไปและมีกำไรมากเกินไป แต่หารู้ไม่ว่านั่นแหละคือความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจน้ำมัน เพราะโรงกลั่นทุกโรงต้องสั่งน้ำมันดิบล่วงหน้าเป็นเวลา 2 เดือน ซึ่งขณะสั่งน้ำมันก็เป็นราคาหนึ่ง วันที่น้ำมันดิบลงเรือก็เป็นอีกราคาหนึ่ง และวันที่กลั่นเสร็จเป็นน้ำมันสำเร็จรูปพร้อมขายก็เป็นอีกราคาหนึ่ง

ฉะนั้นโรงกลั่นไม่มีทางรู้ล่วงหน้าหรือคาดเดาสถานการณ์ในอีก 2 เดือนข้างหน้าได้เลยว่าน้ำมันเมื่อกลั่นเสร็จแล้วจะขายได้ในราคาเท่าไร ถ้าราคาปรับสูงขึ้นก็ดีไป แต่ถ้าราคาปรับลดลงก็ต้องยอมรับการขาดทุนไป โดยเฉพาะถ้าราคาผันผวนมาก ขึ้น/ลงเป็นสิบๆดอลลาร์อย่างปัจจุบัน ความเสี่ยงก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นธุรกิจน้ำมันจึงเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง และต้องมีการบริหารความเสี่ยง เป็นอย่างดี จึงจะสามารถประคองตัวผ่านวิกฤติราคาน้ำมันแพง ซึ่งถือเป็นวิกฤติน้ำมันครั้งที่ 3 ของโลกไปได้ ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงการแทรกแซงจากภาครัฐ และแรงกดดันทางสังคม ในกรณีที่ราคาน้ำมันขึ้นเอาๆอยู่ในขณะนี้ ทำให้ธุรกิจน้ำมันทั่วโลกอยู่ในภาวะเดียวกัน คือถูกสังคมตั้งข้อสงสัยว่าธุรกิจน้ำมันมีกำไรมากเกินไปหรือเปล่า หรือฉกฉวยผลประโยชน์จากการที่ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดทุกวันอย่างในปัจจุบันหรือเปล่า

รุกธุรกิจงานวิศวกรรมและก่อสร้างอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

ความชำนาญทางด้านวิศวกรรมและก่อสร้างอุปกรณ์การผลิตในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากตะวันออกกลาง ซึ่งดำเนินธุรกิจ โดยมีเทคโนโลยีความสามารถในการออกแบบและโครงสร้างที่สมบูรณ์โดยแผนการดำเนินธุรกิจจะหันไปเน้นงานด้านวิศวกรรมในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติให้เป็นธุรกิจหลัก ซึ่งตั้งเป้าหมายรับงานในแถบตะวันออกกลางตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป ดำเนินธุรกิจกับพันธมิตรชั้นนำระดับโลก ทำให้บริษัทฯสามารถรับงานวิศวกรรมและก่อสร้างอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ๆได้ดีกว่าที่ผ่านมา

151932
ธุรกิจอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมีความเติบโตสูงเนื่องมาจากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจงานวิศวกรรมที่เกี่ยวเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมผลิตแท่นขุดเจาะมีแนวโน้มการเติบโตสูง มีผลให้ธุรกิจพลังงานมีทิศทางที่ดีต่อการ ลงทุน ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นการขยายขอบข่ายธุรกิจครั้งสำคัญ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งได้มากยิ่งขึ้นในตลาดระดับประเทศ และตลาดโลก ด้วยประวัติอันยาวนานและจุดแข็ง ถือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทำให้เราสามารถให้บริการได้เต็มรูปแบบ โดยรวมเอาความแข็งแกร่งในทุกๆ ด้านมาให้บริการในตลาดในประเทศไทยและที่ประเทศอื่นๆได้ไปลงทุน สำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยมีพันธมิตรทางธุรกิจที่เข้มแข็งอีกหลายแห่งในภูมิภาคตะวันออกกลางและเอเชียแปซิฟิค ในแถบประเทศตะวันออกไกลนั้น กลุ่มจีพีเอสมีโรงงานผลิตประกอบอยู่ในประเทศสิงคโปร์และเมืองบาตัม ประเทศอินโดนีเซีย และมีสำนักงานธุรกิจวิศวกรรมที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย นอกเหนือจากโรงงานผลิตต่างๆ ในระยองทางด้านตะวันออกแล้ว ก็ยังมีอีกแห่งที่สงขลาทางภาคใต้ของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังถือว่ากลุ่มบริษัทได้เพิ่มจำนวนวิศวกรคุณภาพและเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคให้มาทำงานเพิ่มมากขึ้นในภูมิภาคนี้ แนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติโลกอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจะมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องอีกอย่างน้อย 10 ปีเพราะประเทศแถบแคสเบี้ยนและแอฟริกาตะวันตกอยู่ในช่วงเริ่มพัฒนาแหล่งทรัพยากร นอกจากนั้นยังมีทรัพยากรอื่นๆที่ปัจจุบันกลับมามีศักยภาพด้านเศรษฐกิจ ทำให้น้ำมันและก๊าซธรรมชาติมีคุณค่าราคาและความเป็นไปได้ในการพัฒนา ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจงานวิศวกรรมที่เกี่ยวเนื่องมีแนวโน้มเติบโตสูงตาม