ปาล์มน้ำมันพืชเศรษฐกิจ ทางเลือกใหม่ ของเกษตกรที่น่าจับตามอง

ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่น่าจับตามอง นอกจากจะเป็นพืชน้ำมันที่มีบทบาทสำคัญในธุรกิจน้ำมันพืชเพื่อการบริโภค และเป็นวัตถุดิบอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกหลายอุตสาหกรรม เช่น สบู่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมข้นหวาน เนยเทียม ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น อนาคต ปาล์มน้ำมันยังจะมีบทบาทสำคัญใช้ผลิตไบโอดีเซล ซึ่งคาดว่าจะเป็นพลังงานทดแทนน้ำมันอนาคต ปัจจุบัน กระทรวงเกษตรฯ ร่วมมือกับจังหวัดที่เป็นแหล่งปลูกปาล์มน้ำมันที่สำคัญ

การกำหนดแผนยุทธศาสตร์จังหวัดที่จะส่งเสริมเกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีมากขึ้น เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพ และเพียงพอกับการผลิตไบโอดีเซล โดยส่งเสริมปลูกปาล์มพันธุ์ดีแทนที่สวนยางเก่า และต้นปาล์มอายุมาก รวมทั้งที่นารกร้าง ยังจะเน้นส่งเสริมใช้เทคโนโลยีผลิต และเก็บเกี่ยวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลิตปาล์มน้ำมันให้สูงขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวความต้องการ ผลผลิตปาล์มน้ำมันใช้เป็นพลังงานทดแทนอนาคต

การผลิตปาล์มน้ำมันในตลาดโลก
ปัจจุบัน ประเทศปลูกปาล์มน้ำมัน 42 ประเทศทั่วโลก ซึ่งต่างจากพืชน้ำมันประเภทอื่นๆที่ปลูกกันกว้างขวางทั่วโลก เนื่องจากพื้นที่ปลูกเหมาะสมปลูกปาล์มน้ำมัน จะอยู่ระหว่างเส้นรุ้ง 10 องศาเหนือ-ใต้เส้นศูนย์สูตร หรืออย่างสูงไม่เกิน 20 องศาเหนือ-ใต้เส้นศูนย์สูตร การผลิตปาล์มน้ำมันขยายตัวอย่างรวดเร็วช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบัน แหล่งผลิตปาล์มน้ำมันหลักของโลก คือมาเลเซียและอินโดนีเซีย ซึ่งมีพื้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิต 21.1 ล้านไร่และ 15 ล้านไร่ตามลำดับ คิดเป็น 31.3% และ 22.2% ของพื้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตปาล์มน้ำมันรวมของโลก

ส่วนประเทศไทย ยังมีปริมาณการผลิตน้อยมาก พื้นที่เก็บเกี่ยวประมาณ 1.4 ล้านไร่ หรือ 0.02% ของพื้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตของโลก อย่างไรก็ตาม ประเด็นน่าสนใจ คือการเพิ่มผลผลิตทะลายปาล์มน้ำมันของไทยเฉลี่ยต่อไร่ช่วงปี 2530-2545 เพิ่มสูงกว่าประเทศผู้ผลิตปาล์มน้ำมันรายอื่นๆ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่ของไทย น่าจะมีโอกาสสูงขึ้นอีก จนใกล้เคียงมาเลเซียช่วง 3-6 ปีข้างหน้า กลุ่มพืชให้น้ำมันที่สำคัญในตลาดโลก มี 4 พืช คือ ปาล์มน้ำมัน ถั่วเหลือง เรปซีดและทานตะวัน เมื่อเทียบราคาต้นทุนผลิต ปาล์มน้ำมันต้นทุนผลิตต่ำ เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้น มีโอกาสเสี่ยงต่อผลกระทบภัยธรรมชาติน้อย เมื่อเทียบพืชอายุสั้นอื่นๆ ลงทุนเพียงครั้งเดียว เก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานประมาณ 20 ปี นอกจากนี้ การที่ประชากรเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มสูงขึ้นตาม

ปาล์มน้ำมันต้นทุนผลิตต่ำผลผลิตต่อพื้นที่สูง ราคาซื้อขายในตลาดไม่สูง เสี่ยงต่อการเสียหายจากภัยธรรมชาติน้อย สามารถผลิตปริมาณมาก เพื่อรองรับความต้องการการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกได้ พื้นที่ปลูกได้ในโลกนี้มีจำกัด ไทยอยู่จุดได้เปรียบ ปลูกได้ดี ประกอบกับน้ำมันปาล์ม ประกอบด้วย กรดไขมันหลายชนิด อุดมด้วยวิตามินอี และวิตามินเอ องค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้ สามารถสกัด และใช้ประโยชน์เป็นสารตั้งต้นอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสำอาง อุตสาหกรรมใช้โอเลฟินเป็นวัตถุดิบ และอื่นๆ ซึ่งเพิ่มมูลค่าได้อีกหลากหลาย

ปาล์มน้ำมัน จัดเป็นพืชน้ำมันอนาคตสดใส และแนวโน้มขยายตัวความต้องการอุตสาหกรรมต่อเนื่องโดดเด่น เทียบกับพืชน้ำมันอื่นๆ เนื่องจากการขยายตัวอุตสาหกรรมที่ต้องการปาล์มน้ำมันเป็นวัตถุดิบ ทั้งน้ำมันพืชเพื่อการบริโภค และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ วางยุทธศาสตร์ขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อเป็นวัตถุดิบผลิตไบโอดีเซล เป็นการขยายอุตสาหกรรมรองรับปาล์มน้ำมัน ใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทน